การดูแลรักษา

การดูแลรักษา

ระบบน้ำ การให้น้ำ (ปริมาณความต้องการน้ำ ในแต่ละช่วงเดือน)

รูปแบบการให้น้ำ

  1. ช่วงแรกหลังปลูก (0–3 เดือน)
    • ให้น้ำทุกวันหรือวันเว้นวัน
    • ใช้ watering can หรือระบบหยด
  2. หลังตั้งตัวแล้ว (3 เดือนขึ้นไป)
    • ให้น้ำสัปดาห์ละ 2–3 ครั้ง หรือมากกว่านั้นในฤดูแล้ง
    • ควรให้น้ำลึกถึงราก (อย่างน้อย 20 ซม.)
  3. ระบบน้ำที่เหมาะสม
    • ระบบน้ำหยด ใช้กรณีแหล่งน้ำมีน้อย ประหยัดค่าใช้จ่าย ส่งน้ำตรงโคน
    • ระบบมินิสปริงเกอร์ เหมาะกับพื้นที่ขนาดกลาง-ใหญ่ แหล่งน้ำมีพอทำระบบ ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง น้ำพอสำหรับไผ่ที่ปลูก
    • การให้น้ำด้วยแรงงานคน สำหรับพื้นที่ขนาดเล็ก หรือสวนครัว
  4. ไผ่เป็นพืชที่ตอบสนองต่อความชื้นสูง หากขาดน้ำจะไม่แตกหน่อ ไม่แตกกอ และชะงักการเจริญเติบโต

การใส่ปุ๋ย

  1. ช่วงแรก (ปลูกใหม่ – 6 เดือน)
    • ปุ๋ยคอกเก่า 0.5 – 1 กก./ต้น ทุก 30 วัน
    • ปุ๋ยอินทรีย์หมักจุลินทรีย์ชีวภาพ (หยอดรอบโคนหรือราดน้ำ)
  2. ช่วงเร่งการแตกหน่อ / แตกลำ
    • สูตร NPK เช่น 15-15-15 หรือ 13-13-21 อัตรา 50–100 กรัม/ต้น/เดือน
    • ปุ๋ยหมักหรือขี้วัว 1–2 กก./ต้น ทุก 2–3 เดือน
  3. ช่วงบำรุงลำ / ก่อนเก็บเกี่ยว
    เพิ่มโพแทสเซียม (K) เช่น 0-0-60 หรือขี้เถ้าแกลบ เพื่อให้ลำไผ่เหนียว ไม่เปราะ
  4. ระยะเวลาการใส่ปุ๋ย
    ปีละ 2 - 3 ครั้ง ช่วงฤดูฝน หรือฤดูร้อน (หน้าแล้ง) ที่ให้ระบบน้ำ
  5. ไผ่ตอบสนองดีต่อ ธาตุอาหารหลักและอินทรียวัตถุ ควรใส่ปุ๋ยต่อเนื่องเป็นประจำ

การสางกอ

  1. ทำเมื่อกอมีอายุ 2 ปีขึ้นไป และมีลำหนาแน่นเกินไป
  2. ตัดลำแก่ (อายุเกิน 3 ปี) และลำที่คด งอ ไม่สมบูรณ์
  3. เว้นลำอายุ 1–2 ปี ที่สมบูรณ์ไว้สำหรับใช้ขยายพันธุ์หรือเก็บผลผลิต
  4. ควรตัดในฤดูแล้งหรือต้นฤดูฝน และเว้นการตัดในช่วงไผ่ออกหน่อ
  5. ประโยชน์ของการสางกอ
    • เพิ่มการถ่ายเทอากาศ
    • ลดการระบาดของโรค–แมลง
    • กระตุ้นให้กอแตกหน่อใหม่ และมีคุณภาพดีขึ้น
    • ทำให้ไผ่มีฟอร์มสวย ลำตรง เหมาะสำหรับใช้ลำหรือตัดหน่อ   
  6. แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ
    • คลุมโคนไผ่ด้วยฟางหรือใบไม้แห้ง เพื่อรักษาความชื้นและเพิ่มอินทรียวัตถุ
    • ใช้ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง หรือไตรโคเดอร์มา เพื่อป้องกันเชื้อราและบำรุงดิน
    • วาง ระบบให้น้ำแบบประหยัด ที่เปิด–ปิดอัตโนมัติ เช่น สปริงเกลอร์ตั้งเวลา
    • ทำปฏิทินการใส่ปุ๋ย–สางกอ–ตัดหน่อ เพื่อควบคุมคุณภาพและผลผลิต
    • ใช้การบันทึกข้อมูลแต่ละกอ (เช่น QR code) เพื่อติดตามอายุและการดูแลรายต้น